ประวัติวัดชมภูเวก

วัดชมภูเวก ต.ทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี

 วัดชมภูเวก เป็น วัดมอญ สร้างในสมัยอธยาตอนปลาย โดยชาวมอญเป็นผู้สร้าง มีเจ้าอาวาสมาแล้วรูปปัจจูบันรูที่๑๓โดยมมีพระสมุห์สุทธิพงษ์  สิริวฑฺฒโน เป็เจ้าอาวาส มีโบรานสถาน กรมศิลป์กรขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบรานสถานเมื่อปี ๒๕๐๕ ปัจจุบันมีพระภิกษุ จำพรรษาอยู่ ๒๒รูป มีภาพพระแม่ธรณีที่สวยที่สุในโลก และรอยพระพุทธบาทจำลองที่จำลอง มาจากสระบุรีเป็นแรก เป็นพระพุทธบาท สมัยสุโฃทัย   มีเนื้อที่วัดทั้งหมด ๒๔ไร่ ๒งาน


ปฐมเหตุการสร้างวัดชมภูเวก


            หัวหน้ามอญ กลุ่มบ้านท่าทรายไม่ทรายนามจริงของท่าน แต่ภายหลังชาวบ้านท่าทรายเรียกท่านว่า "ท่านพ่อปู่" ท่านพ่อปู่นำมอญกลุ่มที่ท่านควบคุมดูแลแยกจากมอญกลุ่มบ้านสามโคก บ้านปากเกร็ด แยกลงมาทางใต้ เมื่อมาถึงบ้านบางตลาด ส่วนหนึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองบางตลาดฝั่งเหนือ และบ้านท่าทรายฝั่งใต้ อีกส่วนหนึ่งกระจายลงมาที่คลองท่าทราย ท่านพ่อปู่ได้สำรวมดูภูมิประเทศที่จะตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย เห็นว่าสถานที่บริเวณนี้(วัดชมภูเวก)เหมาะที่จะสร้างที่อยู่อาศัย ด้วยเหตุผล 3 ประการ

            1. สถานที่อยู่ในคลองไม่ไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนักประมาณ 18 เส้น (700 เมตร) สัญจรไปมาสะดวก
            2. คลองท่าทรายไม่ไกลจากบ้านบางตลาด ไปมาหากันสะดวกไม่เกินครึ่งชั่วโมง
            3. ความปลอดภัยจากศัตรูที่จะมารบกวนมีสูง เพราะอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา ทรัพย์สมบัติ สิ่งของมีค่าที่ติดตัามาจากเมืองมอญสามารถเก็บรักษาไว้ได้อย่างปลอดภัย
            เมื่อท่านพ่อปู่และพี่น้องมอญ พิจารณาไตรตรองอย่างถี่ถ้วนดีแล้ว จึงตกลงใจพักอาศัยและสร้างบ้านเรือนจึงเกิดเป็นกลุ่มมอญ "บ้านท่าทราย"

            มอญเป็นชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อไปตั้งบ้านเรือนที่ใดก็จะต้องสร้างวัดขึ้นเป็นสถานที่เคารพสักการะ เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ มอญกลุ่มที่อพยพมาพัก อยู่ ณ วัดชมภูเวก  เมื่ออพยพมามีสัมภาระมากมายบรรทุกขนใส่เกวียนล้อเลื่อน แบกหาม กันมาจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก เป็นเขตปลอดภัยจากพม่าข้าศึก ก็ได้หยุดขบวน ช้า วัว ควาย ตั้งค่ายพักแรมอยุ่อาศัย เมื่อเข้าฤดูฝน ฝนก็ตกลงมา พวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วย เหยียบย้ำดินในบริเวรนี้เป็นเวลานานๆ ดินก็ละลายไหลตามน้ำ ทำให้เห็นเนินอิฐซึ่งอยุ่ใต้พื้นดินโผล่ขึ้นมา เนินอิฐที่อยุ่ใต้ดินมีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีขนาดกว้างพอประมาณ รอบๆ ฐานมีเศษอิฐหักอยุ่มากมาย ชาวมอญสันนิษฐานว่าสถานที่นี้ คงเป็นสถานที่ก่อสร้างโบราณสถานมาก่อน เรื่องนี้ ปู่จิ๋ว ซึ่งเป็นปู่ของนายเชย ปั้นทอง เล่าให้นายเชยฟัง สมัยเด็กวัดอายุ 16 ปี ปู่จิ๋วอายุเกือบ 90 ปี ดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ชาวมอญนักถือพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าจึงได้พวกใจกันสร้าง พระธาตุมุเตา ขึ้นบนฐานอิฐนั้น เพื่อประดิษฐ์สถานพระพุทธรูป พระธาตุ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนอัฐิของผู้นำชาวมอญ เป็นสถานที่กราบไว้บูชา ต่อมาได้สร้างเป็นวัดขึ้น ประกอบกับบริเวรนั้นเป็นป่าไม้ มีต้นยาง ต้นหว้า ต้นพิกุลขนาดใหญ่ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะต้นลูกหว้า มีขนาดใหญ่ พื้นที่ร่มรื่น เงียบสงบ วิเวก สมัยผู้เขียนประวัติเป็นเด็ก ต้นลูกหว้ายังพอมีให้เห็นหลายต้น
            ดังนั้นคำว่า "วัดชมภูเวก" หรือ "วัดชมพูวิเวก" เมื่อสันนิษฐานตามคำบอกเล่า ของผู้ใหญ่ในอดีต หรือสันนิษฐานตามภูมิประเทศ น่าจะตั้งชื่อวัดตามชื่อผู้สร้างคือท่านพ่อปู่ศรีชมภู บวกกับลักษณะภูมิประเทศ อาจจะตั้งตามลักษณะภูมิประเทศอย่างเดียง กล่าวคือ "ชมภู" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้หว้า "เวกหรือวิเวก" แปลว่า สงบเงียบ แต่การใช้อักษรภาษาสมัยนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง ชมพู อาจเขียนเป็นชมภู ในกรณีที่ตั้งชื่อวัดตามลักษณะภุมิประเทศมีผู้ใหญ่บางท่านให้ความเห็นว่า "ภู" แปลว่าเนินที่สูงเป็นจอม คำนี้มีมูลมาจาก เนินของพระธาตุมุเตา ที่พบครั้งแรกเมื่อชาวมอญอพยพมาอยู่ จะอย่างไรก็ตามเพื่อเป็นที่เข้าใจตรงกัน จึงขอสรุปว่า "วัดชมภูเวก" ตั้งชื่อตามผู้สร้างบวกกับภูมิประเทศอันสงบท่านพ่อปู่ศรีชมภู ผู้นำชาวมอญ เป็นผู้ก่อสร้าง

      

      
 

 

พระธาตุมุ๊ตาวว์

 
 
 
พระธาตุมุเตา ภาษาไทยเรียกเจดีย์ สร้างตามแบบคติความเชื่อของชาวมอญ เดิมสร้างไม่ใหญ่เพื่อเป็นพุทธบูชา ภายหลังเมื่อปี พ.ศ.2460 สมัยรัชกาลที่ 6 พระอธิการอินทร์เป็จเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์มอญชื่อพระครูลัยนำคณะสงฆ์มอญจากเมืองมอญร่วมกับคณะสงฆ์ไทยเชื้อสายมอญและชาวบ้านทำการบูรณะเพิ่มเติมโดยสร้างให้สูงใหญ่ครอบองค์เดิม พระมุเตาองค์ใหม๋สร้างบนฐานสี่เหลี่ยมบัวคว่ำบัวหงาย ขนาด 10 x 10 เมตร ฐานสูง 1.5 เมตร องค์พระธาตุสร้างแบบแปดเหลี่ยม ย่อส่วนลด 3 ชั้น ความสูงจากพื้น 15 เมตร มีพระมุเตาบริวาร 4 มุม ด้านหลังสร้างเจดีย์ใหม่ 2 องค์ เพื่อบรรจุอัฐิอดีตเจ้าอาวาส
พระธาตุมุเตา องค์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ได้มีการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ.2535 - 2539 เนื่องจากองค์พระธาตุเดิมที่บูรณะเมื่อปี พ.ศ.2460 มีการชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ตรงเอวเหนือปลองไฉนหัก ยอดและฉัตรชำรุดเสียหาย ผิวปูนเดิมกะเทาะหลุดร่อนเกือบหมด จนปี พ.ศ.2535 มีคณะศรัทธา คือ คุณพรชัย สิริวัฒนรัชต์ เจ้าของบริษัทพรชัย 1991 พร้อมครอบครัว เพื่อนสนิทมิตรสหาย นำผ้าป่าสามัคคีมาทอดร่วมกับคณะผู้ศรัทธาชาวท่าทราย ได้เงินทั้งหมดจำนวน 5 แสนเศษ จึงได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ ปรากฏเห็นสวยงามดั่งปัจจุบัน
   
          พระธาตุมุเตา  เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นแบบรามัญประเทศ ถอดแบบจากพระธาตุมุเตาชเวดากอง กรุงหงสาวดี "ชเวดากอง" แปลว่า "ฉัตรสุวรรณหรือฉัตรทอง"เป็นเจดีย์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมธาตื พระพุทธรูป อัฐิธาตุของพระมหากษักตริย? พระเจดีย์(พระธาตุมุเตา) ในพระพุทธศาสนามีตำราบอกไว้ว่า มี 4 ชนิด
           1. พระธาตุเจดีย์      หมายถึง  พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าไว้บูชากราบไว้
           2. บริโภคเจดีย์        หมายถึง พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า สร้างไว้สำหรับให้สาวกกราบไว้ แทนองค์พระพุทธเจ้าหลังจาดับขันธ์ ปรินิพพานแล้วมี 4 แห่ง
                2.1 สถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ
                2.2 สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
                2.3 สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปฐมเทศนา
                2.4 สถานที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน
           3. พระธรรมเจดีย์ คือพระเจดีย์ที่สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐาน พระธรรม คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ไว้กราบไหว้บูชา กถาบูชาพระอริยสัจสี่ เยธมฺมา เหตุปปฺภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต(อาห) เตสณฺจ โยนิโรโธ จเอวํ วาที มหาสมโณ เป็นต้น จารึกเป็นพระธรรมเจดีย์
            4. อุเทสิกะเจดีย์ คือพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยเจตนาอุทิศ ต่อพระพุทธเจ้าไม่กำหนดว่าจะต้องทำเป็นรูปแบบใด ถ้ามิได้สร้างขึ้นเป็นพระธาตุเจดีย์,บริโภคเจดีย์,หรือพระธรรมเจดีย์ ก็นับว่าเป็น อุเทสิกะเจดีย์ ทั้งสิ้น


อุโบสถหลังเก่า







อุโบสถหลังเก่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายหลังพระธาตุมุเตา ขนาดกว้าง 5.35 เมตร ยาว 12.80 เมตร ตามแนวคติมอญแบบมหาอุต ประตูเข้าออกด้านหน้าทางเดียว (แบบวิลันดา) หน้าบันเป็นลายปูนปั้นตั้งแต่ชายคาขึ้นไปจนถึงสันหลังคา บนยอดหน้าบันปั้นรูปเทพพนมแทนช่อฟ้าใบระกา หน้าบันซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลวดลายปูนปั้นซุ้มเถาว์เครือวัลย์ดอกพุดตาน ประดับด้วยถ้วยเครื่องลายครามและเบญจรงค์


 

                   จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถหลังเก่า เป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ เป็นสกุลช่างนนทบุรี ได้รับการบูรณะสร้างเสริมสมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่สมบูรณ์มากที่สุดที่หนึ่ง โดยเฉพาะภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม ถือได้ว่าสวยงามและหาสมบูรณ์เปรียบเทียบได้ยากยิ่งนัก
  อุโบสถหลังเดิมเป็นอุโบสถมหาอุดแบบมอญ ขณะนี้ได้ถอดถอนสถานภาพจากอุโบสถเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติตั้งแต่ พ.ศ.2520 เนื่องจากวัดชมภูเวกได้ทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แล้วเสร็จ พ.ศ. 2520 ภายในอุโบสถหลังเก่ามีจิตรกรรมฝาผนังเป็นศิลปกรรมที่ทรงคุณค่ามาก เขียนโดยจิตรกรสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เรื่องพระเจ้าสิบชาติ, พระพุทธประวัติมีความประณีตวิจิตรลวดลายละเอียดอ่อน สีสันสวยงาม ความสวยงามต่างๆมิสามารถคงทนอยุ่ได้ตลอด ก็เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้ส่งช่างจิตรกรรมมาซ่อมภาพต่างๆ ให้คงทนอยุ่ได้จนถึงปัจจุบัน



พระแม่ธรณีบีบมวยผม   ที่งามที่สุดในประเทศไทย

 

ภาพจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถหลังเก่า

 

วิหาร

 
 
 
วิหารประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง 
 
ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถหลังเก่า สร้างเพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ลักษณะการสร้างตามแบบศิลปมอญ ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 8 เมตร หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นแบบพรรณพฤกษาใบไม้ดอกไม้ ประดับด้วยถ้วยลายครามและเบญจรงค์ ยอดหน้าบันติดลายปูนปั้นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแทนช่อฟ้า
 
 

วิหาร
 
 สร้างลักษณะอุโบสถ ภายในวิหารสร้างเป็นมณฑปไม้ครอบพระพุทธบาท ไว้อีกชั้นหนึ่ง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบเดียวกับอุโบสถ ขณะนี้ภาพต่างๆได้ชำรุดลบเลือนไปมากประกอบกับตัววิหารก็ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงย้ายมณฑปไม้ ไปไว้ที่มณฑปสร้างใหม่ การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

 

 

อุโบสถหลังใหม่

 

 

พระประทานในอุโบสถหลังใหม่

 
 

ภาพจิตกรรมฝาผนังในอุโบสถหลังใหม่

ศาลพ่อปูศรีชมภู

 
 
 

  ศาลท่านพ่อปู่ศรีชมภู  เป็นโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์มากแห่งหนึ่งของวัดชมภูเวก เป็นสถานที่สถิตของดวงวิญญาณท่านพ่อปู่ศรีชมภู  คอยดูแลรักษาวัดแห่งนี้  ในอดีตท่านเป็นผู้นำพี่น้องชาวมอญ ทำสงครามกับพม่า 
ฆ่าฟันพม่ามานับไม่ถ้วน  ท่านอพยพเข้ามาเมื่อครั้งกรุงหงสาวดีเสียแก่พม่า  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราวปี พ.ศ. ๒๒๐๖ ไดก้อพยพมาอยุ๋ที่นี้และได้สร้างวัดขึ้น ท่านพ่อปู่ศรีชมภูเมื่อสร้างชุมชนมอญ ให้อยู่กันพอสุขสบายท่านก็ยังได้รวบรวมมอญที่หนุ่มฉกรรจ์ ไปช่วยกองทัพไทยรบกับพม่าอีกหลายครั้ง  ความศักดิ์สิทธิ์ของท่านพ่อปู่ศรีชมภูมีมากมาย
เช่น  เรื่องของนายเทียน(ไม่ทราบนามสกุล) บ้านอยู่ปากด่าน อำเภอปากเกร็ด เป็นหัวหน้าวงปี่พาทย์  ได้นำวงปี่พาทย์มาบรรเลงที่วัด งานทำบุญนมัสการพระพุทธบาทจำลอง วันพระกลางเดือน ๓ ขณะที่บรรเลงอยู่นั้นแหวนเพชรของนายเทียน ได้หลุดจากนิ้วตกใต้ถุนศาลาการเปรียญ นายเทียนลงไปหาแหวนเป็นเวลานานก็ไม่พบ จนปัญญาที่จะหาแหวนต่อไป จึง
ไปที่ศาลพ่อปู่ศรีชมภู จุดธูปเทียนแล้วบนบานศาลกล่าว ขอให้พบแหวนดังกล่าว ถ้าพบจะนำปี่พาทย์มาบรรเลงทุกครั้งในหน้าเทศกาล ไหว้พระพุทธบาท , วันสงกรานต์ , วันออกพรรษา เมื่อบอกกล่าวเรียบร้อยแล้วก็กลับไปหาแหวนอีกครั้ง
 คราวนี้ก็พบ ตั้งแต่นั้นมานายเทียน ก็นำปี่พาทย์มาบรรเลงทุกครั้งหน้าเทศกาล  จนนายเทียนสิ้นชีวิตก็บอกลูกชาย คือ
นายแนม ให้นำวงปี่พาทย์มาบรรเลงต่อไปจนนายแนมสิ้นชีวิต ไม่มีใครสืบทอดเจตนาจึงเลิกไป....

 
 
 
 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น